แผลเป็นคีลอยด์
แผลเป็นนูนคีลอยด์ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ปดติแล้วเมื่อร่างกายบาดแผล จะมีกระบวนการสร้างผิวใหม่เพื่อทดแทนผิวเก่าที่ถูกทำลายไปอย่างสม่ำเสมอผิวจึงเรียบเนียนไร้รอยแผล แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายสร้างผิวใหม่ในปริมาณมากเกินไปก็จะทำให้ผิวในตำแหน่งนั้นก็จะเกิดนูนสูงขึ้นกว่าผิวข้างเคียง เรียกแผลชนิดนี้ว่าแผลเป็นนูน และเมื่อมีความหนาและใหญ่มากกว่าตอนแรก จึงเรียกแผลเป็นชนิดนี้ว่า “คีลอยด์”
ตัวอย่างของแผลคีลอยด์ เช่น คีลอยด์ที่เกิดตามหลังการเจาะหู หรือการปลูกฝี ซึ่งแผลแรกเริ่มมีขนาดเท่าปลายเข็ม แต่ขนาดของคีลอยด์อาจใหญ่เท่าปลายนิ้ว และมีอาการคันร่วมด้วย
การรักษาแผลเป็นนูนคีลอยด์ ด้วย Picosecond Laser
ปัจจุบันการดูแลหรือป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนหลังจากการเกิดบาดแผลจากสาเหตุต่างๆ สามารถดูแลด้วยการเลเซอร์ตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลเป็นนูนได้ หากเป็นระยะเวลานานแล้ว ต้องใช้เวลาและหลายเทคนิครวมกันโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับการรักษาแผลเป็นนูนคีลอยด์ ด้วย Picosecond Laser เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่ง่ายและไม่เจ็บ ไม่มีแผลหรือเลือดออก ขณะทำจะรู้สึกเหมือนถูกหนังยางดีด โดยจำนวนครั้งในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับขนาด โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน โดยทั่วไปมักเฉลี่ยประมาณเดือนละครั้ง ติดต่อกัน 4-6 เดือน
ควรทำ Picosecond Laser ที่ไหนดี ?
- เลือกคลินิกที่ไม่ โฆษณาเกินจริง เนื่องจาการรักษาจะดีขึ้นตามลำดับขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นการดูแลตนเองหลังทำตามคำแนะนำของแพทย์
- แนะนำศึกษาข้อมูลคลินิกที่สนใจว่าใช้เลเซอร์เครื่องแท้ได้มาตฐานหรือไม่
เพราะอาจส่งผลเสียต่อการรักษา และเสียเงินฟรีได้
จำนวนครั้งในการทำ
- ขึ้นอยู่กับอาการเบื้องต้นของแต่ละบุคคลโดยคุณหมอจะตรวจประเมินก่อนทำการรักษา
อาการหลังทำ หลังทำบางรายอาจมีรอยช้ำห้อเลือดซึ่งจะจางหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์
อยากรักษาแผลตีรอยร์ค่ะ